Close
Thailand and the world with daily News updates including news, articles.
About       Advertising       Contact

วิธีดูแลรถหลังน้ำท่วม 

ช่วงนี้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ เนื่องจากฝนตกหนัก ด้วยสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว ส่งผลให้เกิดอุทกภัย ทั้งน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำท่วมขัง เกิดความเสียหายหลายรูปแบบ และสำหรับคนมีรถก็มักจะหนีไม่พ้นปัญหารถจมน้ำ หรือน้ำเข้าภายในรถจากการขับรถลุยน้ำท่วม จนส่งผลให้อะไหล่รถและระบบเครื่องยนต์ต่าง ๆ พังชำรุด เสียหาย เช่น แบตเตอรี่เสื่อมจากน้ำท่วม 

วิธีป้องกันรถน้ำท่วม (ก่อนน้ำท่วม) 

สำหรับใครที่รู้ว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยง อาศัยใกล้ริมน้ำ หรืออยู่ในเส้นทางน้ำ หรือมักจะมีปัญหาน้ำท่วมขังบ่อยครั้งเมื่อฝนตกต่อเนื่อง ควรหาวิธีป้องกันรถคู่ใจไว้ก่อน จะได้ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการซ่อมบำรุง ด้วยการนำรถไปจอดไว้พื้นที่สูงหรือในสถานที่ปลอดภัยกว่า และควรถอดขั้วแบตเตอรี่ ถอดสายอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าออกให้หมด แล้วยกไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าลัดวงจร (เผื่อกรณีหนีน้ำไม่พ้น) 

วิธีดูแลรถที่ถูกน้ำท่วม

1. โทรแจ้งประกันรถยนต์ 

อันดับแรกเลยหลังจากน้ำลด ให้รีบเช็คก่อนว่าได้ทำประกันรถไว้บ้างไหม หากมีประกันก็ให้โทรแจ้งประกันก่อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประกันได้ประเมินความเสียหาย ซึ่งประกันรถแต่ละชั้นจะครอลคลุมในการคุ้มครองไม่เหมือนกัน และประเภทการประกันก็ต่างกันด้วย เช็คให้ดีว่าประกันภัยที่มีอยู่นั้นคุ้มครองอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติด้วย หรือคุ้มครองเพียงแค่อุบัติเหตุการจราจรเท่านั้น และถ้าต้องการเคลื่อนย้ายรถ ลองสอบถามเจ้าหน้าที่ประกัน เพราะโดยปกติกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ สามารถใช้บริการรถลากจูงได้ฟรี 1 ครั้ง แต่นั่นก็ชึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละประกันภัย สามารถสอบถามได้ 

2. ไม่ควรต่อขั้วแบตเตอรี่รถยนต์ทันที 

เพราะน้ำที่ยังค้างอยู่ในรถจะทำให้ระบบไฟฟ้าลัดวงจร จนสร้างความเสียหายมากขึ้น (จึงเป็นเหตุผลที่ได้แนะนำให้ถอดขั้วแบตเตอรี่และถอดสายออกให้หมด เพื่อยกแบตหนีน้ำ) และอาจทำให้ประจุไฟในแบตเตอรี่รั่วออกจนหมด 

3. เคลื่อนย้ายรถยนต์

เมื่อน้ำลด ให้ย้ายรถออกมาจากบริเวณรอยน้ำท่วม แล้วนำรถไปตากแดดเพื่อให้น้ำระเหยออก ตรวจสอบรอยระดับน้ำที่ท่วมภายในรถ หากเป็นกรณีน้ำท่วมมิดคัน เรียกประกันรถหรือผู้เชี่ยวชาญมารับรถไปทำการซ่อมดีกว่า โดยเฉพาะรถรุ่นใหม่ ๆ ที่มักจะเป็นระบบไฟฟ้า เพราะอุปกรณ์และอะไหล่ต่าง ๆ ของรถ ต้องได้รับการตรวจสอบเป็นพิเศษจากผู้ชำนาญการโดยเฉพาะ 

4. ทำความสะอาดรถ

ตั้งแต่การไล่ฉีดน้ำใต้ท้องรถ ซุ้มล้อ เพื่อล้างเศษขยะและสิ่งปกปรกที่ตกค้างออกให้หมด นำเบาะนั่ง พรมและผ้าต่าง ๆ ในรถออกไปซักทันที เพื่อป้องกันเชื้อรา และควรตรวจสอบภายในรถให้ทั่ว เผื่อสัตว์มีพิษที่ลอยมากับน้ำ จะตกค้างภายในรถ ทั้งใต้เบาะที่นั่ง ห้องเครื่องยนต์ ท่อไอเสีย หรือแม้ช่องเก็บของ ควรเช็คให้ละเอียด เพื่อความปลอดภัย 

5. จัดการห้องโดยสารและส่วนต่าง ๆ ของรถให้แห้ง 

กรณีที่รถถูกน้ำท่วมไม่มาก ระดับน้ำเพียงแค่ปริ่ม ๆ เท่านั้น เปิดประตูและเลื่อนกระจกทุกบาน ให้ลมโกรก หรือจอดรถตากแดด เพื่อให้ภายในรถแห้งให้เร็วที่สุด ป้องกันการเกิดเชื้อรา และกลิ่นไม่พึงประสงค์ ที่อาจจะซักล้างออกยาก หากปล่อยทิ้งไว้นาน

6. เป่าลมไล่น้ำ

ปลดอุปกรณ์ที่เป็นขั้วไฟฟ้าและที่สามารถเกิดประกายไฟได้ออก จากนั้นใช้ไดร์หรือที่เป่าลมแห้ง เป่าทุกซอกทุกมุมภายในห้องโดยสาร และอาจฉีดสเปรย์ไล่ความชื้นตามอีกที 

7. นำรถไปตรวจสภาพ

เมื่อรถแห้งดีแล้ว นำรถเข้าศูนย์ไปตรวจสภาพ เพื่อให้ช่างเช็คดูให้อีกที เพราะการซ่อมบำรุงมีค่าใช้จ่ายสูง และเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถ จึงต้องให้ช่างที่เชี่ยวชาญจริงเท่านั้นช่วยดูแล แต่ถ้าใครที่มีการเตรียมตัวที่ดี ยกแบตเตอรี่หนีน้ำไว้ก่อน ถอดปลั๊ก ถอดอุปกรณ์ที่แยกออกได้ ก็จะช่วยลดความเสียหายลงไปได้ ยิ่งถ้ามีประกันภัยรถยนต์ก็จะยิ่งช่วยลดภาระค่าซ่อมบำรุงไปได้มากเช่นกัน 

ส่วนกรณีที่ว่าเครื่องยนต์มีปัญหา เช่น แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพเพราะน้ำท่วม ก่อนจะถามถึงราคาแบตเตอรี่รถยนต์ ลองเปลี่ยนเป็นถามว่า “แบตเตอรี่รถยนต์ถูกน้ำท่วมไหม” ก่อนดีกว่า เพื่อความอุ่นใจว่าจะได้แบตเตอรี่ที่พร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะร้านจำหน่ายแบตเตอรี่หลาย ๆ แห่งก็โดนน้ำท่วมเหมือนกัน อุปกรณ์และแบตเตอรี่ในร้านอาจโดนน้ำท่วม เพราะเก็บสินค้าไว้ที่สูงไม่ทัน แล้วลักไก่นำมาขายแบบย้อมแมวให้กับผู้บริโภค จึงจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบให้ดี และเมื่อต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ ก็ควรเลือกซื้อกับแหล่งจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม จะได้ไม่เข้าข่าย “หนีเสือปะจระเข้”

scroll to top