Close
Thailand and the world with daily News updates including news, articles.
About       Advertising       Contact

วันรัฐธรรมนูญ

ประเทศไทยจะมีวันรัฐธรรมนูญตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของไทย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนระบอบการปกครอง และบทความนี้จะกล่าวถึงความสําคัญของวันรัฐธรรมนูญแบบย่อให้พอได้เข้าใจ  

วันรัฐธรรมนูญ คือ วันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 7 พระราชทานรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นกฏหมายสูงสุด และว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองในประเทศ 

ความสําคัญของวันรัฐธรรมนูญ คือ เป็นวันที่รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวรให้กับประชาชน เพื่อใช้เป็นฏหมายอันสูงสุด และใช้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพระองค์ก็ได้มีพระราชดำรัสดังนี้ “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”

ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎรที่ประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ภายใต้การนำของพหลพลพยุหเสนา ได้ร่วมกันทำการยึดการปกครองจากพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ระบบกษัตริย์มีอำนาจอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ 

โดยก่อนที่จะมีวันพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ซึ่งจะถือว่าเป็นวันรัฐธรรมนูญฉบับแรก ซึ่งบางคนก็เรียกสั้นๆว่า “รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2475” ก่อนที่จะมีการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรในปีเดียวกัน 

สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร และ ศาล 

ความหมายรัฐธรรมนูญ เป็นแม่บทกฏหมายของการบัญญัติการบริหารและการปกครองการเมือง ซึ่งเป็นกฏหมายอันสูงสุด และหากบทกฏหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ จะมีผลเป็นโมฆะและบังคับใช้ไม่ได้ 

ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 19 ฉบับ แต่ล้วนขาดเสถียรภาพในการใช้ในการปกครอง จนกระทั่ง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และเป็นวันที่เริ่มใช้ โดยประกาศ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ 

รัฐธรรมนูญ (Constitution) ฉบับแรกของโลก 

เมื่อเรารู้ถึงรัฐธรรมนูญของไทยไปแล้ว ทีนี้มาดูประวัติความเป็นมาวันรัฐธรรมนูญ หรือการกำเนิดรัฐธรรมนูญกันบ้าง 

แต่เดิมเลยนั้น ความหมายของวันรัฐธรรมนูญ หมายถึง ข้อตกลงที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงแต่หลักการและธรรมเนียม ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน จนถึงสมัยพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งราชวงศ์ อังกฤษ ได้ถูกเหล่าขุนนางบังคับให้ลงนาม มหากฎบัตรแมกนา คาร์ตา (Magna Carta) เพื่อลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน จึงเป็นจุดกำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกในโลก รวมไปถึงการเกิดระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้กฏหมายรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย และเป็นต้นแบบให้กับหลายๆประเทศในเวลาต่อมา 

ความสำคัญของวันรัฐธรรมนูญ  

วันรัฐธรรมนูญ นอกจากจะมีขึ้นเพื่อระลึกถึงวันพระราชทานวันรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญ ในการมีส่วนช่วยด้านการสร้างสเถียรภาพให้ระบบการปกครองภายในบ้านเมือง ซึ่งประกอบไปด้วย 

  • สถาปนาอำนาจของรัฐ เพื่อแสดงความเป็นเอกราช ไม่ขึ้นต่อใคร
  • คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้มีสิทธิ์ภายใต้รัฐธรรมนูญ 
  • สถาปนาเป้าหมายทางสังคม ให้มีรูปแบบเป้าหมายการปกครอง ไปในทิศทางที่ควรจะเป็น
  • สร้างรัฐบาลที่มีสเถียรภาพ กำหนดบทบาท หน้าที่ และกลไกการทำงานของสถาบันการเมือง
  • รองรับความชอบธรรมในระบอบการเมือง รัฐที่มีรัฐธรรมนูญ เมื่อเข้าร่วมประชาคมนานาชาติในภาคี การร่วมมือต่างๆ จะได้รับความชอบธรรม

เมื่อถึงวันรัฐธรรมนูญของประเทศไทย จะเป็นวันหยุดราชการ มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ ที่นั่งอนันตสมาคม และมีการวางพวงมาลาถวายสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในวันรัฐธรรมนูญทุกปี  มีการจัดธงชาติประดับประดาอาคารบ้านเรือน เปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชน ได้มีการสอบถาม แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 

scroll to top