ใครเคยหลงไหลวิชาดาราศาสตร์ หรืออยากลองไปล่องลอยนอกโลกอย่างนักบินอวกาศเพื่อจ้องมองกลับมายังดาวสีน้ำเงินดูสักครั้งบ้าง พอจะจำนักบินอวกาศคนแรกๆตอนสมัยเรียนได้บ้างไหมเอ่ย เราลองมาทวนถึงพวกเขาเหล่านั้นทบทวนความทรงจำและหวนระลึกเหมือนตอนอ่านหนังสือเรียนสักหน่อยพอเพลินๆกันดีกว่า

ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin)
นักบินอวกาศคนแรกของโลก ยูริ กาการิน นักบินยานอวกาศชาวรัสเซีย ผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของมนุยชาติ ในการเดินทางสู่อวกาศและทำการสำรวจรอบโลกได้สำเร็จด้วยยานอวกาศวอสตอค 1 (Vostok 1) โดยสามารถทำการโคจรรอบโลกได้ 108 นาที
จากภารกิจนี้ทำให้กาการินมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลก ได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต อีกทั้งมีการสร้างอนุสรณ์สถาน และนำชื่อเขาไปตั้งเป็นชื่อถนน-สถานที่หลายแห่งในรัสเซีย กาการินผํู้เป็นวีรบุรุษของโลกแต่ก็ได้เสียชีวิตอย่างเป็นปริศนา….
เช้าวันพุธ 12 เมษายน ปี 2561 ยูริ กาการิน วัย 27 ปี ได้นั่งอยู่กระสวยอวกาศวอสตอค 1 เพื่อรอเวลาที่จะให้จรวดพุ่งทะยานสู่อวกาศ และเมื่อเวลา 09.07 น. ซึ่งเป็นเวลาท้องถิ่นของรัสเซีย จรวดก็ได้ถูกปล่อยพุ่งทะยานสู่ชั้นบรรยากาศ และทำการดีดยานออกสู่นอกโลก โดยกาการินได้อธิบายว่า เมื่อเขาได้เห็นถึงโลกที่เขาเคยอยู่อาศัยมาตั้งแต่เกิดมีลักษณะอย่างไร สีน้ำเงินเข้มและสีดำของห้วงอวกาศ เส้นโค้งตัดขอบทำให้เขารู้สึกตื่นเต้นและหลงไหล เมื่อเขาทำภารกิจโคจรรอบโลกได้สำเร็จลุล่วง และกลับมาถึงโลก เขาก็ปรารถนาที่จะได้กลับไปท่องอวกาศอีก แต่ก็ยังไม่มีโอกาสเพราะทางต้นสังกัดหน่วยงานยังคงเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย
ด้วยยูริเป็นบุคคลประวัติศาสตร์และใครๆต่างก็ให้ความสนใจ ยูริเข้าสังคมมากขึ้น ทำให้เขาดื่มมากขึ้นจนติดเหล้า จากภาพวีรบุรุษในตอนนั้นกลายเป็นขี้เมาหมดสภาพ และเมื่อมีการแข่งขันทางเทคโนโลยีด้านอวกาศสูงขึ้น มีโครงการและผู้อาสาสมัครรุ่นใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา ทำให้ยูริ ถูกลืมไปช่วงขณะหนึ่ง จนเมื่อเขาได้มีโอกาสกลับมาแวดวงการบินอีกครั้งในฐานะครูฝึกให้กับกองบิน และเมื่อวันหนึ่งเขาต้องทำการฝึกซ้อมขับเครื่องบินรบร่วมกับครูฝึก วลาดิมีร์ เซอร์ยอกิน (Vladimir Seryogin) และได้เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่แคว้นวลาดิมีร์ในกรุงมอสโก
ทำให้วีรบุรุษ ยูริ กาการิน จบชีวิตลงในวันที่ 27 มีนาคม 1968 โดยการเสียชีวิตของยูริเป็นปริศนาที่ยังไม่มีการเปิดเผยถึงสาเหตุที่แท้จริง ว่าเหตุใดกันแน่เครื่องบินที่ยูริบังคับถึงได้เกิดอุบัติเหตุ และมีผู้คนต่างคาดเดาไปต่างๆนา ว่าอาจเป็นเพราะยูริเมาขณะทำการบิน ด้วยเขาเคยติดเหล้ามาก่อน แต่บางคนก็ว่ามีคนบงการกำจัดเขาเพราะอิจฉาที่ยูริมีชื่อเสียง แต่บางคนก็ว่าเป็นเพราะความผิดพลาดของเครื่องยนต์ในหน่วยจึงทำการปดปิดสาเหตุที่แท้จริง จนเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1968 ได้มีการออกมาเปิดเผยว่า สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เครื่องบินลำที่กาการินได้ทำการขับซ้อมรบนั้น ได้มีการบินขับหลบบอลลูนตรวจสภาพอากาศอย่างกระทันหัน ทำให้เครื่องเกิดขัดข้องและตกลงจนเป็นเหตุให้ ยูริ กาการิน เสียชีวิต หลังจากที่เขาได้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการอวกาศได้เพียง 7 ปี
นีล อาร์มสรอง (Neil Arm Second)
นักบินอวกาศเหยียบดวงจันทร์คนแรก นักบินอวกาศอเมริกัน ที่ได้รับภารกิจสำรวจดวงจันทร์ร่วมกับเพื่อนอีกอีก 2 คน คือ บัซซ์ อัลดริน (Buzz Aldrin) และ ไมเคิล คอลลินส์ ( Michael Collins) ด้วยยานอะพอลโล 11 หลังจากที่อเมริการต้องเจ็บใจจากการพ่ายแพ้ให้กับสหภาพโซเวียตศัตรูตัวฉกาจในยุคสงครามเย็น จากการแข่งขันทางมหาอำนาจด้านอวกาศ ด้วยการส่งนักบินอวกาศคนแรกของโลก (ยูริ กาการิน) และนักบินอวกาศผู้หญิงคนแรก(วาเลนตินา) ได้สำเร็จตัดหน้า ทำให้ประธานาธิปดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ( John F. Kennedy) มุ่งมั่นที่จะส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์เป็นครั้งแรกของโลกแทน
วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 ได้ทำการปล่อยยานอพอลโล 11 (Apollo 11) เดินทางไปยังดวงจันทร์ โดยจรวดแซเทิร์น 5 (Saturn Five) จากฐานยิงจรวดแหลมเคเนดี รัฐฟลอริดา ซึ่งมีลูกเรือในยาน 3 คน ประกอบไปด้วย นีล และ บัซซ์ จะอยู่ในยานลูนาร์โมดูล (ฉายานกอินทรี / EAGLE)เพื่อทำการลงจอดยังบนดวงจันทร์ ในขณะที่ ไมเคิล จะอยู่ในยานบัญชาการโคจรรอบดวงจันทร์ระหว่างปฏิบัติภารกิจ
เมื่อยานลูนาร์โมดูลทำการลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ นีล อาร์ม สตรอง ก็ได้เป็นคนแรกที่ลงเหยียบดวงจันทร์ก่อนเวลาที่กำหนดไว้ 5 ชั่วโมง (เพราะที่จริงพวกเขาควรจะต้องนอนหลับ ภายในโมดูลเป็นเวลา 5 ชั่วโมงก่อนที่จะลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์ แต่ด้วยความตื่นเต้นทำให้พวกเขานอนไม่หลับ จึงได้ติดต่อยังภาคพื้นดินเพื่อแจ้งว่าจะออกจากยานลูนาร์โมดูลก่อนกำหนด 5 ชั่วโมง) และตามด้วย บัซซ์ อัลดริน ในอีก 20 นาทีต่อมา ซึ่งตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 1969
ขณะที่ทำการเดินสำรวจบริเวณรอบๆจุดลงจอดยานลูนาร์โมดูล ได้มีการถ่ายทอดสดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ผ่านไปยังสื่อโทรทัศน์ทั่วโลก และนั่นทำให้ทุกคนได้ยิน นีล ได้กล่าวว่า “นั่นเป็นก้าวเล็กๆของคนคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ” ( “That’s one small step for a man, one giant leap for mankind”)จนกลายเป็นวลีติดหูและฮิตไปทั่วโลก พวกเขาได้ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ในการเดินสำรวจเพื่อเก็บตัวอย่างหินดวงจันทร์เป็นจำนวน 21.6 กิโลกรัมเพื่อนำกลับยังโลก และทำการถ่ายภาพเพื่อเก็บบันทึกอีกจำนวนมาก
เมื่อได้เวลาที่ต้องทำการกลับไปขึ้นยานลูนาร์โมดูล เพื่อกลับไปยังยานบัญชาการที่มีไมเคิลรออยู่เพียงลำพัง แต่ได้เกิดเหตุสุดวิสัยที่ทำให้พวกเขาเกือบจะไม่ได้กลับโลก นั่นคือเบรกเกอร์ของยานลูนาโมดูลแตกเสียหาย แต่ถูกแก้ไขโดย นีล ได้นำปากกาเสียบเข้าไปแทนที่เบรกเกอร์เพื่อแก้ปัญหาฉุกเฉิน พวกเขาจึงไม่ต้องติดอยู่บนดวงจันทร์ และสามารถกลับไปยังยานบัญชาการได้ ก่อนจะสลัดยานลูนาร์โมดูลทิ้งและให้ยานอพอลโลพาทั้ง 3 นักบินอวกาศกลับโลก โดยพุ่งลงยังมหาสมุทรแปซิฟิกในวันที่ 24 กรกฎาคม 1969 โดยใช้เวลาในการอยู่บนดวงจันทร์ 21 ชั่วโมง 36 นาที และเวลาที่นับรวมทั้งหมดของการเดินทางไปยังดวงจันทร์และกลับมายังโลกได้ใช้เวลาไปทั้งหมด 195 ชั่ว 18 นาที
อลัน เชพเพิร์ด (Alan Shepard)
ทหารเรือชาวอเมริกัน ผู้เคยร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นนักบินอวกาศคนแรกที่เล่นกีฬานอกโลก และเกือบได้เป็นมนุษย์อวกาศคนแรก หากไม่เกิดเครื่องบินอวกาศขัดข้องจนต้องมีการซ่อมบำรุง ทำให้มีการปล่อยจรวดเมอร์คิวรี่ เรดสโตน 3 (ยานอวกาศรุ่นแรกขนาดเล็ก) ตามหลังรัสเซียไป 23 วัน
นอกจากนี้ อลัน เชพเพิร์ด เกือบจะไม่ได้มีโอกาสสำรวจดวงจันทร์ หากเขาไม่เกิดอาการน้ำในหูชั้นในผิดปกติจนทำให้เขามีอาการวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง จนพลาดเที่ยวบินอพอลโล 1 แต่นั่นเป็นความโชคดีของเขา เพราะอพอลโล 13 ได้เกิดถังออกซิเจนระเบิดจนต้องสูญเสียชีวิตนักบินอวกาศไปถึง 3 นาย และเมื่ออาการความผิดปกติของหูชั้นในบรรเทาลง จนเชพเพิร์ดสามารถกลับมาทำการขึ้นบินได้อีกครั้ง เขาได้นำไม้กอล์ฟที่ให้คณะช่างของนาซาดัดแปลงเพื่อให้ใช้งานได้ขณะที่อยู่ในสภาวะบรรยากาศบนดวงจันทร์ติดตัวไปด้วย และเมื่อใกล้เสร็จสิ้นภารกิจในการสำรวจดวงจันทร์ เชพเพิร์ด ก็ได้นำกอล์ฟออกมาหวดเป็นการส่งลาถึง 2 ครั้ง ซึ่งนั่นเป็นการเล่นกีฬานอกโลกครั้งแรกของมนุษยชาติเลยทีเดียว

วาเลนตีนา วลาดีมีรอฟนา เตเรชโควา (Valentina Vladimirovna Tereshkova)
นักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลก นักบินอวกาศหญิงรัสเซียสัญชาติโซเวียต ที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้สมัคร 400 คน ด้วยความสามารถการกระโดดร่มที่เธอมีความชำนาญและเริ่มทำการกระโดดร่มต้้งแต่อายุ 22 ปี แต่ถึงอย่างนั้นการฝึกเป็นนักบินอวกาศก็ยังถือว่าเป็นงานหนักสำหรับผู้หญิง วาเลนตีนาต้องทำการฝึกฝนในหลายด้าน รวมไปถึงการฝึกเป็นนักบินไอพ่น และกระโดดร่มที่มากกว่า 120 ครั้ง
นอกจากวาเลนตีนาจะเป็นนักบินอวกาศสตรีคนแรก เธอยังเป็นนักบินพลเรือนคนแรกของโลกที่ได้ทำการขึ้นสู่วงโคจรและก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง ซึ่งเธอได้ทำการโคจรรอบโลกถึง 48 รอบเป็นเวลา 2 วัน 23 ชั่วโมง 12 นาที นั่นมากกว่าเวลาของนักบินอวกาศอเมริกันรวมกันในช่วงนั้นเสียอีก
วาเลนตินาถูกยกย่องว่าเป็นวีรสตรีแห่งสหาภาพโซเวียต อีกทั้งได้รับขนานนามว่าเป็นวีรสตรีแห่งศตวรรษจากสมาคมสตรีแห่งปีนานาชาติเมื่อปี 2543 และยังมีการตั้งชื่อหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ด้วยชื่อของเธออีกด้วย
นักบินอวกาศที่มีชื่อเสียงและในประวัติศาสตร์ยังมีอีกหลายท่านที่น่าสนใจและน่าติดตาม แต่เราขอนำเพียงบุคคลที่คนเขียนพอจะจำได้และเป็นที่รู้จักทั่วโลกในนามของผู้สร้างประวัติศาสตร์ด้านอวกาศคนแรกๆ และมีในบทเรียนแรกๆเช่นกันมาทบทวนความทรงจำกันสักหน่อย และในบทความต่อๆไปอาจจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจของท่านอื่นมาแบ่งปัน มาร่วมกันระลึกความทรงจำกันอีก หรืออาจจะเป็นบทความด้านอื่นๆที่น่าสนใจได้อ่านเพลินๆเช่นกัน