Close
Thailand and the world with daily News updates including news, articles.
About       Advertising       Contact

เครื่องย่อยเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยทำงานอย่างไร

ในประเทศไทยจะมีการทิ้งเศษอาหารจากครัวเรือนสู่บ่อขยะจำนวน 10,000 ตัน / วัน ซึ่งขยะจากครัวเรือนส่วนใหญ่ก็จะเป็นจำพวก เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษข้าว เปลือกไข่ไก่ เศษเนื้อสัตว์ เศษอาหารที่ทานเหลือในแต่ละมื้อ และขยะสดจากการเชิงพาณิชย์อย่างร้านอาหารต่างๆก็เช่นกัน ซึ่งจะมีขยะสดจากอาหารเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน รวมไปถึงอาหารที่ใกล้หมดอายุและอาหารหมดอายุแล้วที่ถูกโยนทิ้งลงถังขยะเป็นจำนวนไม่น้อย และมักจะเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกเพิกเฉย ได้มีการพยายามนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ เพื่อแก้ปัญหานี้ในรูปแบบต่างๆ และตอนนี้ก็ได้มีเครื่องมือที่จะมาช่วยกำจัดขยะเศษอาหารให้เป็น “ปุ๋ย” 

ปุ๋ยหมักหรือภาษาอังกฤษเรียกว่าคอมโพส (compost) ซึ่งเป็น Organic Super Food เป็นอาหารอินทรีย์ที่สุดยอดสำหรับพืช ดีกว่าไหม..หากแทนที่เราจะเพียงแค่เททิ้งเศษอาหารเหล่านั้นให้ย้อนกลับมาทำร้ายเราด้วยก๊าซเรือนกระจก แต่เราสามารถนำเศษอาหารเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกในรูปแบบของปุ๋ย เพื่อบำรุงพืชผักที่เราไว้ใช้เป็นอาหารในมื้อต่อๆไป เป็นระบบหมุนเวียนจากจุดเริ่มต้นกลับไปสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง และมันจะทำให้เรามีทรัพยากรใช้ได้อย่างไม่หมดสิ้น 

สิ่งที่เราจะพูดถึงก็คือเครื่องทำปุ๋ยจากเศษผักนั่นเอง ซึ่งการใช้งานเครื่องทําเศษอาหารเป็นปุ๋ยใช้งานง่ายและสะดวกมากๆ สมาชิกทุกวัยในบ้านสามารถใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุ โดยก่อนจะใช้งานเจ้าเครื่องนี้ในครั้งแรก เพียงเติมจุลินทรีย์ที่มาพร้อมกับเครื่องเพียงครั้งเดียว จากนั้นจุลินทรีย์เหล่านั้นจะเพิ่มจำนวนทดแทนเป็นวงจรไปเรื่อยๆ และเมื่อจะใช้งาน ก็เพียงแค่แยกน้ำและของแข็งออก เช่น เปลือกหอย กระดูกไก่ กระดูกหมู ฯลฯ จากนั้นก็ค่อยเทเศษอาหารลงในเครื่อง แล้วกดปุ่มให้เครื่องย่อยเศษอาหารเป็นปุ๋ยทำงาน โดยที่เราไม่ต้องไปคอยดูคอยเติมอะไรให้ยุ่งยากอีก ที่สำคัญไม่มีกลิ่นรบกวนใจสมาชิกในบ้าน มด หนู แมลงต่างๆก็ไม่มีมาวุ่นวาย ภายใน 24 ชั่วโมง ก็จะได้ปุ๋ยออแกนิค 100% ไร้สารเคมี เป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพดี เพราะมีค่า NPK ตามมาตรฐานที่พืชและดินต้องการครบถ้วนเรียกได้ว่าคุณแม่บ้านเองก็ถูกใจกับวิธีทิ้งเศษอาหารที่ไม่ต้องยุ่งยากหลายขั้นตอนอีกต่อไป 

และสำหรับคนที่มีงานอดิเรกหรือชื่นชอบการปลูกผัก ปลูกต้นไม้ ย่อมจะรู้ดีว่า ขั้นตอนการทำปุ๋ยนั้นค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลาหลายวัน และเมื่อได้ปุ๋ยแล้วก็ยังต้องทำการหมักอีก เพื่อให้ได้สารอาหารตามที่พืชต้องการ ดังนั้นหากเครื่องย่อยสลายเศษอาหารนี้จะเป็นขวัญใจคุณแม่บ้าน ก็ไม่เป็นการยากที่จะถูกใจคุณพ่อบ้านหรือคนที่ชอบปลูกต้นไม้เช่นกัน เพราะได้ปุ๋ยหมักเศษอาหารคุณภาพดีมาบำรุงต้นไม้ฟรีๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาเหนื่อย

ด้วยที่เรามักจะทำกับข้าวทานเอง และมีการปลูกผักไว้ทานเองเล็กๆน้อยๆที่ระเบียง เวลาที่มีอาหารเหลือเพราะทานไม่หมดจริงๆ เปลือกผลไม้ เศษวัตถุดิบที่เหลือทิ้งตอนทำกับข้าว ก็จะนำมาปรุงดินเพื่อลงกระถางผักที่ปลูกไว้ แต่ก็มีปัญหาที่ทำให้น่าเบื่อมากๆ คือ กลิ่นเอย แมลงเอย มาจากไหนไม่รู้ แต่ถ้ามีเศษอาหารและมีกลิ่น ทั้งแมลงทั้งมดยกขบวนกันมา มดนี่ตัวดีเลย เพราะมีมด เพลี้ยแป้งก็จะตามมาด้วย เป็นศัตรูของพืชผักริมระเบียงของคนเขียนเป็นอย่างมาก แถมกลิ่นก็รบกวนห้องอื่นจนทำให้เราเกรงใจ ไม่กล้าทำบ่อยๆ ต้องตัดใจทิ้งเศษอาหารไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่รู้ว่ามันเป็นอาหารชั้นยอดสำหรับดินและผักริมระเบียงได้มากแค่ไหนก็ตาม และเมื่อมีเจ้าเครื่องนี้ถือกำเนิดขึ้นมา เรียกได้ว่าทำให้กิจกรรมอันยุ่งยากนั้นกลับเป็นง่ายและสะดวกสุดๆ อยากขอบคุณผู้คิดค้นเป็นพันเป็นล้านครั้งจริงๆ 

เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารอัตโนมัติแบบนี้ นับว่าเป็นเครื่องย่อยเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตคนเมืองอย่างเราได้ดีมาก ด้วยขนาดเครื่องที่เล็กกระทัดรัด สามารถวางมุมไหนก็ได้ในห้องเล็กๆของเรา เพราะมีน้ำหนักเพียงแค่ 18 กิโลกรัม แต่ถึงจะเห็นเครื่องเล็กๆแค่นี้ และสามารถรองรับเศษอาหารได้ 2 กิโลกรัม / วัน แต่เมื่อปล่อยให้มันทำงานไปเรื่อยๆ ปริมาณของเศษอาหารที่เติมลงไปในแต่ละวันจะหายไปกว่า 90% หากไม่มีการตักปุ๋ยไปใช้เลย กว่าเครื่องจะเต็มก็ใช้เวลาประมาณ 30 วัน หรือเดือนกว่าๆเลยทีเดียว

เศษอาหารกองรวมกันในเครื่องไม่สะสมกลิ่นและเชื้อโรคเหรอ?

ไม่ต้องห่วงเรื่องจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และไร้กลิ่นเหม็นเน่าที่เชิญชวนแมลงสาบ มด หนู เพราะเครื่องนี้ใช้เทคโนโลยีที่มีการฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่นด้วยระบบรังสี UVC + Metal Oxidation + Ozone ซึ่งระบบ UVC นี่เองที่จะทำลายเชื้อโรคได้ทั้ง เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ยีสต์ โดยทำลายโครงสร้างและองค์ประกอบของดีเอ็นเอเชื้อโรค เรียกได้ว่าเชื้อโรคตายเรียบ ไม่เหลือทั้งซากทั้งกลิ่น แต่จะเป็นกลิ่นคล้ายกลิ่นดินปุ๋ยทั่วไป หากชาวเกษตรหรือคนปลูกต้นไม้ประจำน่าจะนึกออกและคุ้นเคยเป็นอย่างดี 

เครื่องหมักเศษอาหารนี้จะเป็นระบบ Aerobic Composting ที่ใช้ออกซิเจนในการทำงานของจุลินทรีย์ กัดกินย่อยเศษอาหารได้เร็วเพียงภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยไร้ก๊าซมีเทน และเราก็ไม่ต้องคอยมานั่งพลิกกองกลบกองแบบเครื่องกำจัดอาหารแบบอบแห้ง เพราะเครื่องนี้จะทำงานเองโดยอัตโนมัติและในอุณหภูมิที่พอเหมาะ ทำให้ได้ปุ๋ยหมักจากเศษผักที่สะอาด ไร้เชื้อโรค สามารถใช้มือจับได้เหมือนดินปุ๋ยทั่วไป จนลืมไปว่ามันเคยเป็นเศษอาหารที่สกปรกมาก่อนไปเลย ส่วนในเรื่องของกลิ่น แม้ว่าจะไม่มีกลิ่นแบบขยะเศษอาหารในหลุมฝังกลบ แต่ก็จะให้กลิ่นคล้ายกับปุ๋ยน้ำ ระดับกลิ่นก็จะขึ้นอยู่กับความแห้งความชื้นของปุ๋ยที่ได้ด้วย หากได้ปุ๋ยแห้งสนิทก็จะมีความเนื้อละเอียด และกลิ่นน้อยมาก จะคล้ายๆกลิ่นดินกลิ่นปุ๋ยแห้ง  แต่ถ้าเนื้อปุ๋ยที่ได้ค่อนข้างชื้นหรือเปียกก็จะมีกลิ่นแรงขึ้น แต่เครื่องนี้เพิ่มความล้ำเข้าไปอีก มีปุ่มให้เราเลือกกดปุ่มเร่งลดกลิ่นและความชื้นได้ด้วย

เครื่องอบแห้งแบบ Dehydrator แตกต่างจากเครื่องทำปุ๋ยหมักแบบ Composter อย่างไร?

ในการกำจัดเศษอาหารจะมี 2 ระบบ แบบอบแห้ง และแบบย่อยสลายทำปุ๋ยหมัก ซึ่งถูกผลิตออกมาเพื่อกำจัดเศษอาหารไปเป็นปุ๋ยเหมือนกัน แต่แบบ Dehydrator จะเป็นแบบคายน้ำจากเศษอาหาร จึงต้องห้ามมีการใส่น้ำลงไปเด็ดขาด การกำจัดเศษอาหารทำได้เป็นรอบๆเท่านั้น ปุ๋ยที่ได้จะมีความแห้งแต่ไม่มีแร่ธาตุที่พืชต้องการ จึงต้องนำไปหมักเพื่อเพิ่มธาตุต่างๆที่จำเป็นกับพืชก่อนถึงจะนำไปใช้ได้ และต้องคอยล้างถาดเพื่อรักษาความสะอาด  ในขณะที่เครื่องย่อยแบบ composter จะมีการทำงานแบบใช้จุลินทรีย์ที่รักษาอุณหภูมิทำให้สามารถใช้งานได้ตลอด โดยไม่จำกัดจำนวนรอบในแต่ละวัน เพียงแต่ไม่เกินตามกำลังการรองรับของตัวเครื่องที่กำหนดมาเท่านั้น จะต้องแยกน้ำออกจากอาหารก่อนเทลงเครื่องนี้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นเศษอาหารมีน้ำเล็กน้อยได้ แค่ระวังไม่ให้มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราและมีกลิ่น อีกทั้งปุ๋ยที่ได้มีธาตุอาหาร  NPK เพียงพอตามมาตรฐานที่พืชต้องการ สามารถนำไปโรยต้นไม้หรือปรุงดินได้เลย และไม่ต้องคอยทำความสะอาดเครื่องหลังเลิกใช้งาน ทำให้ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก เพิ่มความสะดวกสบายกว่าเครื่องแบบระบบอบแห้ง

เครื่องย่อยเศษอาหารใช้ไฟเปลืองไหม

เครื่องทำปุ๋ยจากเศษอาหารเหมาะกับทุกบ้านทุกไลฟ์สไตล์จริงๆ เพราะเพียงแค่เสียบปลั๊กไว้ตลอดเวลา เพื่อให้คงไว้อุณหภูมิที่พอเหมาะต่อเชื้อจุลินทรีย์ในเครื่องไม่ให้ตาย และเกิดเชื้อราได้ เครื่องก็ทำงานได้ตลอด ไม่ต้องรอใช้เป็นรอบๆ มีเศษอาหารที่ต้องการจะทิ้งเมื่อไรก็เทลงเครื่องได้เลย 

แต่ในขณะเดียวกันอัตราการใช้ไฟคงที่ ทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องค่าไฟ เนื่องจากการทำงานระบบของเครื่อง มีเพียงแค่มอเตอร์รอบหมุนต่ำที่คอยคลุกเคล้าเศษอาหารต่างๆให้เข้ากัน และรักษาอุณหภูมิให้คงที่ จากประสบการณ์ของผํู้ที่ใช้เครื่องนี้แล้วตัวจริง เขากระซิบมาว่า ค่าไฟที่ต้องจ่ายสำหรับเจ้าเครื่องนี้อยู่ที่ประมาณ 1xx – 2xx บาท เท่านั้น ขนาดว่าเสียบเครื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เฉกเช่นเดียวกับตู้เย็น

ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม?

สำหรับบ้านไหนที่มีการใช้เครื่องไฟฟ้าย่อมต้องรู้ว่า เครื่องไฟฟ้าบางชนิดจะต้องมีการทำความสะอาด หรือการเปลี่ยนอุปกรณ์เสริมบางอย่าง เครื่องย่อยเศษอาหารนี้ก็ต้องมีการเปลี่ยนวัสดุ โดยจะต้องซื้อเปลี่ยนหลอด UVC (สำหรับฆ่าเชื้อและกำจัดกลิ่น) ปีละครั้ง ซึ่งราคาจะมีตั้งแต่หลักร้อยถึงพันบาทนิดๆ บางคนอาจตกใจว่า7-8 ร้อยก็แพงแล้ว แต่ต้องดูว่าเปลี่ยนหลอด UVC เพียงปีละครั้งเท่านั้น และถ้านำไปเปรียบเทียบกับพวกที่ต้องคอยเปลี่ยนฟิลเตอร์ทุกๆ 3 เดือน ทำให้รวมๆกันปีนึงก็อาจตกราวๆ 4,000-5,000 บาท พูดได้ว่าค่าใช้จ่ายเสริมตรงนี้คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม!

สามารถใช้เครื่องย่อยสลายเศษอาหารได้กับทุกวัสดุหรือไม่

การจะใช้เครื่องไฟฟ้าทุกชนิดจะต้องทำการศึกษาการใช้งานของตัวเครื่องให้เข้าใจ ทั้งจากคู่มือที่ให้มาพร้อมกับตัวเครื่อง และจากผู้ขายที่จะต้องทำการแนะนำในการใช้งานก่อนเสมอ โดยเครื่องนี้จะมีสติ๊กเกอร์ข้อความที่ระบุไว้เพื่อเตือนสำหรับผู้ใช้งานว่าสามารถเทขยะประเภทใดลงเครื่องได้ และเลี่ยงขยะประเภทใด โดยผู้ผลิตเครื่องหมักปุ๋ยจากเศษอาหารนี้เปรียบเทียบว่ามันเหมือนเป็นกระเพาะของคนเรา อะไรที่เรากินได้ก็เทลงเครื่องนี้ได้ และอะไรที่เรากินไม่ได้ก็ไม่ควรเทลงใส่เครื่องนี้เช่นกัน ด้วยเครื่องนี้ถูกผลิตขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ในการย่อยสลายอาหาร โดยอิงจากการทำงานของกระเพาะคน ดังนั้นต่อให้เป็นขยะสดจากอาหารเช่นกัน แต่มีลักษณะแข็งแบบที่เราเองก็ไม่ทาน เช่น กระดองปู เปลือกทุเรียน กระดูกสัตว์ ฯลฯ ก็อย่าได้ใส่ลงไปในเครื่อง เพราะจะไปทำให้เครื่องเกิดขัดข้องและใช้งานไม่ได้อีก 

กรณีที่ซื้อพวกเนื้อสัตว์มาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ปลา หรืออาหารทะเล หากมีเศษที่ต้องทิ้งแม้ว่าจะไม่ผ่านการปรุงสุก เช่น หัวปลา ก้างปลา เศษเนื้อหมูที่อาจเน่าเสีย หรือพวกหัวและเปลือกกุ้ง ก็สามารถทิ้งลงไปได้ เมื่อปล่อยให้เครื่องทำงานผ่านไปสัก 1-2 วัน เมื่อเปิดฝาเครื่องก็ไม่เกิดกลิ่นเหม็นคาวใดๆ หรืออาหารที่มีน้ำเล็กน้อยขลุกขลิกก็สามารถเทลงไปได้เลย แม้ว่าที่จริงแล้วควรทำการแยกน้ำออกจากกากอาหาร เนื่องจากความชื้นของน้ำในเศษอาหารจะไปทำให้เกิดเชื้อราและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ จึงเป็นเหตุผลที่ควรแยกน้ำออกก่อนนั่นเอง แต่ถ้าเป็นจำนวนเล็กน้อยแบบเศษน้ำติดก้นจานก็ไม่ถึงกับสร้างปัญหาให้กับเครื่อง จึงเป็นอีกข้อดีและความสะดวกของการใช้เครื่องระบบ Composter 

ส่วนการเก็บปุ๋ยที่ได้จากเครื่องเพื่อนำไปใช้งานก็ง่ายแสนง่าย เพราะในเครื่องจะมีเส้นที่ระบุสำหรับบอกไว้อย่างชัดเจนว่าปุ๋ยเต็มและควรตักออกได้แล้ว เพื่อให้เหลือพื้นที่สำหรับปุ๋ยจากการย่อยเศษอาหารในรอบใหม่ และถ้าหากไม่ต้องการซื้อหัวเชื้อจุลินทร์บ่อยๆ ก็สามารถเก็บปุ๋ยที่แห้งสนิทไว้สำหรับเป็นหัวเชื้อสำรองได้ และส่วนใหญ่ปุ๋ยที่ได้จะมีทั้งขนาดที่หยาบและละเอียด โดยขึ้นอยู่กับชนิดของเศษอาหารที่ใส่ลงไป หากเป็นพวกเปลือกไข่ เปลือกส้ม หัวปลา เปลือกกุ้ง ฯลฯ อาจไม่ได้ถูกย่อยสลายแบบเดียวกับพวกเศษเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ แต่จะมีความแห้งและคล้ายก้อนดินหรือเป็นแผ่นบางๆขนาดใหญ่ โดยปุ๋ยชิ้นใหญ่ๆเหล่านั้นนำไปผสมกับวัสดุปลูกได้ ส่วนปุ๋ยละเอียดก็สามารถนำไปโรยหน้าดินหรือต้นผักต้นพืชต่างๆได้เลย และการตักปุ๋ยออกจากเครื่อง ควรเหลือจำนวนปุ๋ยไว้ในเครื่องปริมาณหนึ่ง เพื่อเป็นตัวตั้งต้นให้เครื่องทำงานรอบต่อไป

เห็นได้ว่า Food Waste Composter เป็นนวัตกรรมที่ผลิตขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์กำจัดขยะสดจากครัวเรือน ซึ่งใช้งานง่ายและลดขั้นตอนที่ยุ่งยากลง เพื่อให้ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบันได้มากขึ้น โดยสามารถลดปริมาณขยะเศษอาหารที่จะไปรวมตัวกันยัง landfill หรือหลุมฝังกลบ ที่จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดกองภูเขาขยะเหล่านี้ไปจำนวนหลายล้านบาทในแต่ละปี นี่ยังไม่รวมไปถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเครื่องเปลี่ยนเศษอาหารในบ้านให้เป็นดินปุ๋ยจึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่จุดเล็กๆแต่เป็นจุดเริ่มต้นจากครัวเรือน ก่อนจะเดินทางไปสะสมรวมกันจนเป็นจุดใหญ่และเป็นปัญหาระดับโลกได้เป็นอย่างดีที่สุดในตอนนี้ 

ดังนั้นการคัดแยกขยะที่เริ่มต้นจากต้นทางในทุกๆบ้านทุกๆหลังนี่ล่ะ ที่จะเป็นการลดงบประมาณในการกำจัดขยะของประเทศได้ดีที่สุด เพราะเมื่อสามารถแยกขยะเปียกอย่างเศษอาหารไปทำเป็นปุ๋ยได้แล้ว ที่เหลือก็สามารถแยกขยะแห้ง ขยะพลาสติกออกจากกันได้ง่ายขึ้น ขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ทีนี้ก็จะเหลือเพียงขยะที่ต้องกำจัดทิ้งในปริมาณที่น้อยลง งบประมาณในการดำเนินการก็จ่ายน้อยลง ลดการใช้พลังงานในการกำจัดขยะ ก๊าซพิษทั้งจากการเผาขยะและการย่อยสลายของเศษอาหารอย่างก๊าซมีเทนก็ลดลง จะสวนทางกับสิ่งแวดล้อมที่จะดีขึ้น เพราะเมื่อชั้นบรรยากาศไม่ถูกรบกวนด้วยก๊าซเรือนกระจก ระบบกลไกทางธรรมชาติก็จะทำงานตามปกติอย่างที่มันเคยเป็น

scroll to top